ข่าว/กิจกรรม

โครงการ Focus group พัฒนาศักยภาพนักวิจัย/นักวิจัยรุ่นใหม่ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
วันที่ 26 เมษายน 2567

หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้จัดโครงการ Focus group พัฒนาศักยภาพนักวิจัย/นักวิจัยรุ่นใหม่ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาและงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมกับ รศ.ดร.อมร ไชยสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวรายงาน

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าศึกษาดูงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา การต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ ของหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) และหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI)
วันที่ 5 มีนาคม 2567

สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี นำโดย รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมกับรองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ให้การต้อนรับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) และหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ศูนย์บริการวิจัยนวัตกรรมและส่งเสริมวิชาการ (CRIA) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในวันที่ 5 มีนาคม 2567 ณ ห้อง RMUTT INNOVATION STARTUP RESEARCH & ENTREPRENEUR ชั้น 6 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
วันที่ 29 มีนาคม 2567

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ นางพัชรี ซิลวา และนางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการการบิน สาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการการโรงแรม ในวันที่ 14 มีนาคม 2567 และ ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมธัญญา ชั้น 5 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อให้นักศึกษานำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ สถานประกอบการ โดยในโครงการจะมีโครงงานสหกิจศึกษาที่สามารถนำไปปรับให้เป็นนวัตกรรมเพื่อนำมาต่อยอดการขอจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร

ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนานักวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระยะที่ 1 “โครงการการอบรมให้ความรู้การรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร”
วันที่ 27 มีนาคม 2567

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ และนางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนานักวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระยะที่ 1 “โครงการการอบรมให้ความรู้การรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร” ในวันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 1903 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในกฎระเบียบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และแนวทางในการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร

ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนางานวิจัยสู่การจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
วันที่ 22 มีนาคม 2567

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ นางพัชรี ซิลวา และนางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนางานวิจัยสู่การจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ในz ณ ห้องประชุมอินทนิล 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานคณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานวิจัยสู่การยื่นจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร

ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์
วันที่ 21 มีนาคม 2567

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ นางพัชรี ซิลวา และนางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และเข้าใจในการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์

เข้าร่วมสัมมนา เครือข่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภายใต้ระบบ ววน. ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566
วันที่ 16 มีนาคม 2567

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการ และนางพัชรี ซิลวา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เข้าร่วมสัมมนา เครือข่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภายใต้ระบบ ววน. ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2567" ณ โรงแรมอมารี หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นใน 2 วัน ของการอบรมเครือข่าย โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานและได้กล่าวถึง การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่แต่ละองค์กรควรให้ความสำคัญ เนื่องจากเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ บทเรียน และยังมีทรัพยากรบางอย่างที่ต้องใช้ร่วมกัน

วิทยากรบรรยายหัวข้อเรื่อง "นวัตกรรมและผลงานวิจัยกับการยื่นจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร"
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ นางพัชรี ซิลวา และนางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาลตำแหน่งนักวิชาการศึกษา เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อเรื่อง "นวัตกรรมและผลงานวิจัยกับการยื่นจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร" ในวันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้อง ST-1 501 ชั้น 5 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยสาขาชีววิทยาประยุกต์ คณะะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดการเรียนการสอนรายวิชา 09-313-376 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมทางชีวภาพ และรายวิชา 09-313-375 ธุรกิจชีวภาพเบื้องต้น ในภาคการศึกษาที่ 2/2566 ซึ่งเป็นวิชาชีพบังคับให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ มีแนวคิดเป็นผู้ประกอบการ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องการขอจดอนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรนั้นมีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน และเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดเตรียมคำขอ

บรรยายหัวข้อเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสร้างสรรค์"
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ และนางพัชรี ซิลวา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสร้างสรรค์" ในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมศิลปกรรมนิเทศ อาคาร 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้จัดระบบการเรียนการสอนในรายวิชาการเตรียมความพร้อมฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ 1 (0-2-1) รหัสวิชา 07000321 ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการทางด้านของบุคลิกภาพ และความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์

การอบรมระบบสารสนเทศที่รองรับการรายงานการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 และกฎหมายลำดับรองสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันอุดมศึกษา
วันที่ 29 มกราคม 2567

นางมยุรี จอยเอกา นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ ได้เข้าร่วมการอบรมระบบสารสนเทศที่รองรับการรายงานการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 และกฎหมายลำดับรองสำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันอุดมศึกษา ในวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมซาลอน เอ ชั้น 2 โรงแรมสวิส โซเทล กรุงเทพฯ รัชดา กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาศักยภาพ จัดโดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม โดยมีการสรุปประเด็นสำคัญของกฎหมายลำดับรอง ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 และกรณีศึกษา การบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ภายใต้กระทรวง อว.

อบรมหลักสูตร Digital Content Creation คอนเทนต์ยุคใหม่ มัดใจลูกค้า
วันที่ 14 ธันวาคม 2566

นางมยุรี จอยเอกา นางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาล และนายภาคิณ แสงประดิษฐ์ นักวิชาการศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร Digital Content Creation คอนเทนต์ยุคใหม่ มัดใจลูกค้า โดยมีนายอลงกรณ์ รัตตะเวทิน นางสาวชลธิชา ศรีอุบล และนางสาวประอรสิริ สุกนิล นักประชาสัมพันธ์ จากกองประชาสัมพันธ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมคุณภาพด้านการศึกษาเกี่ยวกับ SDGs และเป็นการสร้างร่วมมือระหว่างบุคลากรในองค์กร จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับกองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี ระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2566 ณ อาคารฝึกอบรม ชั้น 2 สำนักวิทยบริการและสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี

โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตรระดับสูง
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตรระดับสูง ระหว่างวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมซิลเวอร์ 2 โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพ (รัชดา) กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมศักยภาพบุคลากรที่ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันอุดมศึกษา จัดโดย มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้รับเกียรติจาก นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กล่าวเปิดการอบรม ที่มาและวัตถุประสงค์ในการอบรมในครั้งนี้

สัมมนาเครือข่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายใต้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรรม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566

นางมยุรี จอยเอกา นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ และนางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาล นักวิชาการศึกษา หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เข้าร่วมสัมมนาเครือข่ายหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายใต้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรรม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เพื่อสร้างความร่วมมือในด้านความเป็นเลิศ และเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทันต่อเหตุการณ์ จัดโดย ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมสวิสโซเทล รัชดา กรุงเทพมหานคร

การประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเชื่อมโยงภาคประกอบการสู่การผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
วันที่ 30 ตุลาคม 2566

นางมยุรี จอยเอกา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ชำนาญการ และนางสาวเพียงธาร ไชยสิงกาล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ได้เข้าร่วมการประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเชื่อมโยงภาคประกอบการสู่การผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ Google Meet จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการสิทธิเทคโนโลยีกับภาคธุรกิจ เอกชนและภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนการอนุญาตให้ใช้สิทธิและนำผลงานทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วารุณี ศรีสงคราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กล่าวเปิดการประชุมและกล่าวต้อนรับ ส่วนอาจารย์ชูชาติ เฉลิมถ้อย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ในการประชุมหารือในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นผู้นำเสนอกลไกและแนวทางปฏิบัติของหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงร่วมปรึกษาหารือเพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเชื่อมโยงภาคประกอบการสู่การผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ร่วมกับบุคลากรจากมหาวิทยาลัยราชมงคลอีกทั้ง 8 แห่ง

งานแถลงข่าว “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566” (Thailand Research Expo 2023)
วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 - 2 สิงหาคม 2566

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เข้าร่วมงานแถลงข่าว มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) โดยมี รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ร่วมเวทีเสวนาช่วง “Thailand Research Expo Talk : เวทีรวมพลังวิจัยไทยก้าวไกล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน” ร่วมกับ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวนการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ทางสถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมนักวิจัยร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยภายในงาน